
ศูนย์โรคลมชักเด็กครบวงจร กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
โรคลมชักเป็นโรคระบบประสาทที่พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น อาการชักมักจะส่งผลต่อระบบ สมองพัฒนาการ และ การเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ เด็กจะต้องได้รับการรักษาโรคลมชัก
ตั้งแต่เริ่มมีอาการชัก กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จึงได้ก่อตั้งศูนย์โรคลมชักเด็กครบวงจร เมื่อปี พ.ศ.2546 โดยแพทย์ และทีมการพยาบาล
ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลรักษาโรคลมชักมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วย
แนวทางการรักษาที่หลากหลาย เช่น การรักษาด้วยยากันชัก การใช้วิธีโภชนบำบัด (Ketogenic diet)
การใช้เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 เพื่อระงับการชัก ( VAGUS NERVE STIMULATOR)และการรักษาในปัจจุบัน ศูนย์โรคลมชัก
ได้วิทยาการการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักโดยการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Stereotactic Electroencephalography (SEEG) มาใช้ นอกจากใช้ Subdural grid/strip ซึ่ง
ผลตอบสนองหลังจาการผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เพราะ มีความปลอดภัยสูง มีภาวะแทรกซ้อนน้อย
ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว ช่วยลดและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลให้น้อยลง
คำถาม ที่ถามบ่อย ?
การลดไข้ในเด็ก
ในเด็กที่เคยชักจากไข้ ผู้ปกครองอาจมีความวิตกกังวลเมื่อเด็กมีไข้สูงจากการศึกษาพบว่าการลดไข้โดยให้ยาลดไข้ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้เป็นวิธีการปฎิบัติที่ได้ผลในการลดมากที่สุด
แนวทางปฎิบัติ
1.การใช้ยาลดไข้ ให้ยาพาราเซตามอล ขนาด 10-15 มก./กก./ครั้งทุกชั่วโมง 4-6 ชั่วโมง ไม่แนะนำให้แอสไพริน หรือ ibuprofen เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น Reye’s syndrome แผลในกระเพาะ หรือทำให้เกิดปัญหาเลือดออกในผู้ป่วยที่เนโรคไข้เลือกออก
2.การเช็ดตัวลดไข้ มีความสำคัญเพื่อป้องกันการเกิดอาการชักจากไข้
วิธีการเช็ดตัวที่ถูกต้อง
กากรเช็ดตัวที่ถูกต้องคือ เช็ดทุกส่วนของร่างกาย เช็ดอย่างต่อเนื่อง หมุนเวียนตั้งแต่ศรีษะจรดเท้าและเน้นบริเวณข้อพับต่างๆ โดยใช้พาขนหนูชุบน้ำบิดพอหมาด ถูเบาๆ เพื่อให้เส้นเลือดใต้ผิวหนัง ขยายตัวความร้อนในร่างกายหมุนเวียนมาผิวหนังมากขึ้น ต้องเช็ดต่อเนื่องอย่างน้อยใช้เวลา 15-20 นาที หรือ จนไข้ลดควรเช็ดตัวซ้ำเมื่อมรไข้ขึ้นอีก ส่วนมากถ้าเช็ดอย่างถูกวิธี ไข้จะลดลงภายในช่วงเวลา 15-30 นาที รวดเร็วกว่าการรับประทานยาลดไข้ ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงไข้จึงลด
โดยทั่วไปน้ำที่ใช้ในการเช็ดตัวจะใช้น้ำประปา ถ้าอากาศเย็นให้ใช้น้ำอุ่นแทนควรปิดเครื่องปรับอากาสหรือพัดลมขณะเช็ดตัว เพราะเส้นเลือดจะหดตัว และความร้อนไม่ระเหยออกจากร่างกายนอกจากนี้เด็กยังอาจมีอาการปลายมือเท้าเขียวและหนาวสั่น หลังเช็ดตัวซับให้แห้ง ใส่เสื้อผ้าที่บางเบาตามปกติและไม่ควรห่มผ้าในทันที
3.หลังจากไข้ลดลงแล้ว ควรให้ดื่มนม น้ำ แก้ภาวะขาดน้ำ และขับเหงื่อ ปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยลดไข้ได้
;
การผ่าตัดประเภทต่างๆ
การใช้เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 เพื่อระงับการชัก (VNS : VAGUS NERVE STIMULATOR ) ผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยากันชักในจำนวนหนึ่งไม่สามารถผ่าตัดเพื่อเอา epileptogenic tissue ออก ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนาในเรื่อง electrical stimulation ในผู้ป่วยโรคลมชักการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นระบบประสาทจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้การผ่าตัดดังกล่าวเป็นการฝังอุปกรณ์ที่เรียกว่า Vagus Nerve Stimulator (VNS) โดยอุปกรณ์จะถูกฝังไว้ที่หน้าอกคล้ายเครื่องกระตุ้นหัวใจ และปลายสายไปเกี่ยวกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 แล้วจะกระตุ้นเส้นประสาทอยู่เรื่อยๆ เพื่อไปยับยั้งคลื่นชัก และในผู้ป่วยที่มีอาการเตือนก็สามารถกระตุ้นอุปกรณ์ให้ปล่อยกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อหยุดอาการชักได้และมีการพัฒนาไปถึงขั้นตอนที่สามารถตรวจจับคลื่นชักได้ และหยุดคลื่นชักนั้นได้ด้วยแต่อุปกรณ์นี้ในเมืองไทย ยังมีราคาค่อนข้างสูง
สิทธิ์ข้าราชการสามารถเบิกได้ แต่สำหรับบัตรทอง และประกันสังคมยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ครับ
การวาง Subdural grid /strip implantation
คือการผ่าตัดใส่ขั้วไฟฟ้าในสมองเพื่อหาจุดกำเนิดชัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการผ่าตัด 2
ครั้งในช่วง 1 สัปดาห์ จะต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ เป็นขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดคลื่นไฟฟ้าจากผิวสมองโดยตรง
ที่เรียกว่า Subdural Grid /strip เป็นการวางขั้วไฟฟ้าลงบนผิวสมองและวัดไฟฟ้าที่มาจากสมอง
การผ่าตัดชนิดนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์และอยุ่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG :Electroencephagraphy
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง โดยการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าบนเนื้อสมอง ซึ่งไม่มีอันตราย และไม่เจ็บปวด
วัตถุประสงค์
• เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรคลมชักร่วมกับข้อมูลทางคลินิก
• เพื่อแยกชนิดของการชัก • เพื่อตรวจหาตำแหน่งความผิดปกติของไฟฟ้าในสมอง เพื่อเตรียมผ่าตัด
• เป็นการตรวจแยกโรคภาวะอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายอาการชัก เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ
โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 2 ประเภท คือ
1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG ทั่วไป
2. การตรวจคลื่นสมอง - วิดิทัศน์ (Video-EEG Monitoring )
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG ทั่วไป
เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองในระยะสั้น ไม่ต้องค้างคืน ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวมาดังนี้
1. สระผมให้สะอาดก่อนวันมาตรวจ ห้ามใส่น้ำมันหรือสารเคมีบนหนังศีรษะ
2. รับประทานอาหารได้ตามปกติไม่ควรหยุดยากันชักที่ทานประจำ
3. ในกรณี ที่ผู้เข้าตรวจไม่ให้ความร่วมมือ จำเป็นต้องให้ยานอนหลับ ตามแผนการรักษาของแพทย์ (ในกรณีที่ต้องงดอาหารก่อนตรวจอย่างนยน้อย 6 ชม.)
วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง แบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ดังนี้
1.การบันทึก (การตรวจ) ขณะผู้ป่วยตื่น ระหว่างบันทึก ผู้ป่วยควรนอนนิ่งๆ ไม่ควรพูดคุยเพราะจะทำให้เกิดรบกวนคลื่นไฟฟ้าสมองได้ ระหว่างการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองนั้นจะมีขั้นตอนที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมอง
เจ้าหน้าที่จะบอกให้ผู้ป่วยลืมตาและหลับตาเป็นช่วงๆ ตลอดระยะเวลาการบันทึก
2.การหายใจแรงลึก (Hyperventilation) ให้ผู้ป่วยหายใจแรงลึกและรวดเร็ว ติดต่อกันเป็นเวลา 3 นาที การหายใจแรงลึกและรวดเร็วที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นด่าง ซึ่งจะเกิดภาวะสมองขาดเลือดและขาดออกซิเจนซึ่งกรณีที่สมองมีความผิดปกติจะก่อให้เกิดคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติตามมา ในขณะที่ทำการหายใจแรงลึกยังอาจมีอาการที่เป็นผลข้างเคียง เช่น มึนงง (วิงเวียน) ชั่วขณะ หรืออาจมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้าซึ่งจะหายเองภายใน 2-3 นาที
3.การกระตุ้นด้วยแสงไฟ (Photic stimulations) การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองนั้นจะมีการกระตุ้นด้วยแสงไฟที่เปิดและปิดเป็นจังหวะด้วยความถี่ที่แตกต่างกันเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมอง อนึ่ง ในการตรวจ ทุกๆคนไม่จำเป็นต้อง ครบทุกอย่างก็ได้
การตรวจคลื่นสมอง - วิดิทัศน์ (Video-EEG Monitoring )
เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ที่ผู้เข้าตรวจต้องนอนค้างคืน ที่โรงพยาบาล มากกว่า 24 ชม เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองผู้ป่วยต้องเตรียมตัวมาดังนี้
1. สระผมให้สะอาดก่อนวันมาตรวจ ห้ามใส่น้ำมันหรือสารเคมีบนหนังศีรษะ
2. อาจจะมีการปรับลดยากันชัก ในขณะตรวจซึ่งจะอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
3. อนุญาตให้มีญาติเฝ้าติดตามร่วมกับผู้ป่วยตลอดการตรวจรักษา ได้ไม่เกิน 2 คน ในฐานะของผู้ปกครอง
4. เนื่องจากการตรวจจะใช้ระยะเวลายาวนานผู้ป่วยอาจนำหนังสือ หรือ งานฝีมือมาทำได้
5. การตรวจคลื่นสมองไฟฟ้า แบบ Long Term ค่าใช้จ่าย วันละ 4,800 บาท
ค่าห้อง เดี่ยว วันละ 2,000 บาท
** หรือเป็นไปตามสิทธิ์การรักษาของคนไข้
**ข้าราชการเบิกได้
ขั้นตอนการตรวจดังนี้
1พยาบาลแนะนำขั้นตอนการทำ และข้อควรปฏิบัติ ให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองรับทราบ
2.พยาบาลทำการวัดศีรษะ เพื่อหาตำแหน่งสำหรับวางขั้วไฟฟ้าบนหนังศีรษะในตำแหน่งต่างๆกันซึ่งตำแหน่งที่วางเป็นไปตามมาตรฐานสากล
3.พยาบาลจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบจัดท่าให้ผ่อนคลาย
4.พยาบาลเตรียมและทำความสะอาดหนังศีรษะบริเวณที่จะวางขั้วไฟฟ้าด้วย แอลกอกฮอล์และน้ำยาสำหรับทำความสะอาดผิวหนังโดยเฉพาะ
5.พยาบาลวางขั้วไฟฟ้าบนหนังศีรษะในแต่ละตำแหน่งจนครบตามวิธีมาตรฐานสากล โดยใช้ครีมทาหนังศีรษะสำหรับนำคลื่นไฟฟ้าสมองได้ในตำแหน่งที่วางขั้วไฟฟ้า และตรวจสอบแรงต้านทานไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าในแต่ละตำแหน่ง โดยแรงต้านทานไฟฟ้าต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
6.หลังจากนั้น เปิดเครื่องตรวจ ทำการบันทึกภาพคลื่นไฟฟ้าสมองบนกระดาษกราฟโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการบันทึกภาพคลื่นไฟฟ้าสมอง โดยใช้เวลาการตรวจประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง
7.นัดรับผลการทำEEG รบกวน ลงรูป
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ในการผ่าตัดโรคลมชัก (Brain SPECT)
การตรวจคลื่นสมองโดยใช้วิธีการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นการตรวจถ่ายภาพสมองโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเปล่งออกมาจากผู้ป่วย ที่ได้รับการฉีดสารเภสัชรังสี เข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้ไปจับกับเนื้อสมองส่วนต่างๆๆ ทำให้สามารถตรวจหน้าที่การทำงาน ปริมาณเลือดมาเลี้ยงสมอง
ข้อปฏิบัติในการตรวจรักษา
1. เป็นหัตถการที่ควรทำร่วมกับ Long Term EEG เพราะ จำเป็นต้องตรวจในขณะที่ให้ผู้ป่วยชักเพือหาจุดกำเนิดชัก
2. อาจจะมีการปรับลดยากันชัก ในขณะตรวจซึ่งจะอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
3. อนุญาตให้มีญาติเฝ้าติดตามร่วมกับผู้ป่วยตลอดการตรวจรักษา ได้ไม่เกิน 2 คน ในฐานะของผู้ปกครอง
4. ค่าใช้จ่าย ในการทำ Brain SPECT ครั้งละ 9,000 บาท เบิกได้ตามสิทธิการรักษาที่มี ข้าราชการเบิกได้
ข่าวประชาสัมพันธ์

แนวทางการดูแลเด็ก ที่เป็นโรคลมชัก
- 2020-11-10 16:25:59
- 1024
คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลว่าลูกของเราจะมีโอกาสเป็นโรคลมชักหรือเปล่าครับ หรือคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกหลานที่มีปัญหาลมชักอยู่ในปัจจุบัน อยากเรียนเชิญทุกท่านมาร่วมเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญที่จะมาไขปัญหา ให้คำตอบในเรื่องread more

โครงการเยี่ยมบ้าน
- 2020-06-02 15:37:22
- 1562
ในเรื่องการดุแลหลังออกจากโรงพยาบาล ซึ่งทางหน่วยประสาทวิทยา เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้ จึงได้จัดโครงการนนี้ขึ้นมาเพื่อผู้ป่วยและครอบครัวจำเป็นต้องได้รับการดูแลและรักษาต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูสมรรถ ภาพทางกายและใจ ให้สามารถกลับมาใช้คุณภาพที่ดียิ่งขึ้นread more

